9 ธันวาคม 2554

จะช่วยเด็กไทยอย่างไร...ให้พร้อมกับเศรษฐกิจอาเชี่ยน


               การศึกษาของเด็กไทนที่ผ่านมามีความพยายามที่เราจะยกระดับมาตรฐานการศึกษาของเด็กไทยและเยาวชนของเราเพื่อให้เยาชนได้มาตรฐานเพื่อให้เป็นที่ยอมรับและผลที่ออกมาปรากฎว่าการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กไทยมักออกมาในเกณฑ์ที่ต่ำกว่ามาตรฐานเสมอ
               สิ่งที่ทำให้การเรียนของเด็กอ่อนแอลงส่วนใหญ่ปัญหาเกิดจากตัวของเด็กเองคือไม่ค่อยเอาใจใส่ในเรื่องการเรียนมากนัก  ติดเกมส์และสื่อบันเทิงต่างๆทำให้เด็กลืมหน้าที่ของตัวเองว่าหน้าที่ของตนเองคืออะไรสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยงแปลงไปมากต่างจากในอดีตช่องว่างสำหรับครูและนักเรียนมีมากขึ้น..พ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลาให้เพราะส่วนใหญ่เป็นครอบครัวเดี่ยวกันส่วนใหญ่ให้เงินแทนความรักความผูกพันธ์  พ่อแม่ควรใช้เวลาอยู่กับลูกให้มากที่สุด...เช่นการสอนการบ้านหรือทำกิจกรรมต่างๆภายในครอบครัวเพราะว่าส่วนนี้เองจะเป็นการสะท้อนออกมากจากการเรียนของลูกด้วยเหมือนกันและที่สำคัญตอนนี้คือเด็กไทยอ่อนภาษาอังกฤษอยู่มาก..และเมื่อการค้าเสรีอาเซียนมาถึงนั่นเป็นเรื่องที่เราต้องให้ความสำคัญมากภาษาอังกฤษในเวลานั้นเป็นเรื่องที่สำคัญจริงๆเพราะจะไม่มีกำแพงระหว่างกันอย่างทุกวันนี้  10  ประเทศอาเชียนสามารถเข้าถึงกันได้หมดต้องกระตุ้นให้มีการเรียนภาษาอังกฤษกันเพื่มมากขึ้นเด็กไทยจะได้มีศักยภาพเพิ่มมากขึ้น

                ปัญหาการสอบแอดมิดชั่น เนื่องจากระบบการสอบแอดมิดชั่น เน้นคะแนนสอบเพียงบางวิชาและไม่เน้นความรู้ในเชิงลึกเหมือนการสอบในสมัยเก่า

           ปัญหาจากครูผู้สอน ทั้งในเรื่องเงินเดือน และการฝึกฝนเรียนรู้ของครูให้เท่าทันศาสตร์ต่างๆ เพื่อจะไปสอนให้ทันกับเทคโนโลยีและความรู้ใหม่ๆ โดยที่ผ่านมาสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) เปิดเผยผลการประเมินคุณภาพภายนอก ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษาและระดับอุดมศึกษา ซึ่งพบว่ามีสถาบันการศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองผลคิดเป็นร้อยละ 19.59 โดยในเบื้องต้นพบว่าสถานศึกษาที่ไม่ผ่านการรับรองมีปัญหาสำคัญมาจากคุณภาพครูเป็นปัจจัยสำคัญ

           ดังนั้นหากมองย้อนถึงปัญหาทางการศึกษาของเด็กไทย และการกระตุ้นเม็ดเงินเพื่อช่วยเหลือจึงอาจต้องมุ่งเน้นที่การพัฒนาบุคคลากรให้มากยิ่งขึ้น เพราะการที่บุคคลากรด้านครูยังขาดการพัฒนาทางความรู้และการศึกษา ก็จะส่งผลให้ไม่เกิดการพัฒนาทางการเรียนการสอน และทำให้เด็กไม่สนใจเรียนในที่สุด และท้ายที่สุดแล้วก็จะส่งผลให้บัณฑิตที่ผลิตออกไปนั้น ไม่สามารถเข้าสู่ตลาดแรงงานในสาขาที่ตลาดแรงงานในประเทศต้องการ และขาดแคลนแรงงานในที่สุด













ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น